ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

บริษัท เทคนิคอล ซีสเต็ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า รับเหมาระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบไฟฟ้าอาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

ว่าด้วยเรื่องของระบบไฟฟ้าต้องมีมาตรฐานในการออกแบบและการติดตั้ง เพื่อความปลอดภัย คงทนถาวร และเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในระบบให้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งการติดตั้งไฟฟ้ามีมาตรฐานกำหนดที่แน่นอน และมีหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานจากต่างประเทศที่ประเทศไทยนำมายึดถือ เช่น National Electric Code (NEC) American National Standard Institute (ANSI) International Electrotechnical Commission  (IEC) เป็นต้น และหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คือ สำนักผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม หรือที่รู้จักกันในชื่อ มอก.


ศัพท์เฉพาะหรือคำจำกัดความด้านระบบไฟฟ้าที่เราควรรู้
- ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 1,000 โวลท์
- ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์
- โวลท์ (Volt.) คือ หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า
- แอมแปร์ (Amp.) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า
- วัตต์ (Watt.) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง
- หน่วย (Unit) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ ต่อชั่วโมง มีอุปกรณ์ที่ใช้วัด คือ กิโลวัตต์ฮอร์มิเตอร์ (Kwh.)

ระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่นำมาใช้ โดยแยกออกดังนี้
- ระบบ 1 เฟส จะมี 2 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE(มีไฟ) 1 เส้น และสาย Neutral (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า 220 - 230 โวลท์ มีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz)
-  ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE(มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า  ระหว่าง สาย LINE กับ LINE 380 - 400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 220 - 230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) เช่นเดียวกัน
- สายดิน หรือ GROUND มีทั้ง 2 ระบบ ติดตั้งเข้าไปในระบบเพื่อความปลอดภัยของระบบ สายดินจะต้องต่อเข้าไปกับพื้นโลกตามที่มาตรฐานกำหนด

ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปจำหน่าย การไฟฟ้านครหลวง จะจำหน่ายไฟฟ้าให้กรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับต่างจังหวัดของทุกภาคในประเทศ ระบบไฟฟ้าในภาคใต้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า แล้วแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงถึง 230 กิโลโวลท์ (KV.) แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ เข้าที่สถานีไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถานีไฟฟ้าย่อยจะปรับลดแรงดันไฟฟ้าเหลือ 33 กิโลโวลท์ แล้วจ่ายเข้าในตัวเมือง และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลง เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าให้เป็นแรงต่ำ เพื่อนำมาใช้งานต่อไป

กำลังไฟฟ้ามีด้วยกัน 3 อย่างคือ
-  กำลังไฟฟ้าจริง มีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt)
- กำลังไฟฟ้าแฝง มีหน่วยเป็น วาร์ (VAR)
-  กำลังไฟฟ้าปรากฏ มีหน่วยเป็น โวลท์แอมป์ (VA)




หม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้ งานบางอย่างต้องการใช้แรงดันสูง เช่น  การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามายังสถานีย่อย ต้องใช้หม้อแปลงแรงไฟฟ้าแรงสูง แต่การใช้ในบ้านเรือน หรือ โรงงานต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ  ซึ่งหม้อแปลงมีหลายชนิดหลายขนาด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน

ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
-  MDB (Main distribution board) เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร
-  SDB (Sub distribution board) เป็นตู้ควบคุมย่อย จ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า หรือ Load Center หลายๆ ตู้ ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร
-  PB (Panel board) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load





บริษัท เทคนิคอล ซีสเต็ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า รับเหมาระบบไฟฟ้า ออกแบบระบบไฟฟ้าอาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า แรงต่ำ-แรงสูง ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า ออกแบบระบบไฟฟ้า รับทำตู้สวิตซ์บอร์ด ระบบไฟฟ้าอาคาร โรงงาน


ติดต่อเรา
207/207 หมู่ 6 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี  20230
โทรศัพท์ : +663 804 2323, +668 9184 4422, +668 9627 9144
โทรสาร : +663 804 2324
อีเมล : [email protected]
technicalsystem.brandexdirectory.com
tsecthai.com
tsec.co.th